1944–45 : แนวรบที่สอง ของ แนวรบด้านตะวันตก_(สงครามโลกครั้งที่สอง)

นอร์ม็องดี

ดูบทความหลักที่: ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
เส้นทางที่ดำเนินการโดยการรุกรานดีเดย์

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด(ยังเป็นที่รู้จักกันคือ"ดีเดย์") –การปลดปล่อยที่รอคอยมายาวนานของฝรั่งเศส แผนการล่อลวง, ปฏิบัติการความทรหดและบอดีการ์ด ทำให้พวกเยอรมันหลงเชื่อว่าการรุกรานจะเกิดขึ้นในปาดกาแล ในขณะที่เป้าหมายที่แท้จริงคือนอร์ม็องดี หลังสองเดือนของการต่อสู้ที่เชื่องช้าในประเทศรั้วต้นไม้, ปฏิบัติการคอบร้าได้ยินยอมให้อเมริกันได้หยุดเคลื่อนทัพที่ตะวันตกเพื่อตั้งที่พัก ไม่นานหลังจากนั้น, ฝ่ายสัมพันธมิตรต่างได้มีการแข่งขันกันในการเคลื่อนทัพฝรั่งเศส พวกเขาได้ทำการโอบล้อมทหารเยอรมัน 200,000 นายในวงล้อมฟาเลส์ เช่นเดียวที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้งในแนวรบด้านตะวันออก ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธที่จะให้มีการถอนกำลังทางยุทธศาสตร์จนกระทั่งสายเกินไป จำนวนทหารเยอรมันประมาณ 150,000 นายสามารถหลบหนีจากวงล้อมฟาเลส์ไปได้ แต่พวกเขาได้ละทิ้งอุปกรณ์ทางทหารไว้เบื้องหลังที่ไม่สามารถหามาทดแทนได้และทหารเยอรมันจำนวน 50,000 นายล้วนถูกสังหารหรือถูกจับเป็นเชลย

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับว่าจะเคลื่อนทัพไปข้างหน้าให้แนวรบกว้างขวางหรือแนวรบแคบจากก่อนดีเดย์ ถ้าอังกฤษฝ่าออกจากหัวสัะพานนอร์ม็องดี(หรือหัวหาด)รอบเมืองก็อง เมื่อพวกเขาได้เปิดฉากปฏิบัติการกู๊ดวู้ดและผลักดันไปตามชายฝั่ง ข้อเท็จจริงบนพื้นดิน(Facts on the ground)อาจมีการหันไปโต้แย้งในเห็นชอบในแนวรบแคบ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนทัพฝ่าได้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปฏิบัติการคอบร้าที่ด้านตะวันตกจนถึงหัวสะพาน กองทัพกลุ่มที่ 21 ซึ่งได้รวมถึงกองกำลังอังกฤษและแคนาดาหันไปทางตะวันออกและมุ่งหน้าไปยังเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และทางตอนเหนือเยอรมนี ในขณะที่กองทัพกลุ่มสิบสองแห่งสหรัฐ ได้รุกไปยังทางทิศใต้ผ่านฝรั่งเศสตะวันออก ลักเซมเบิร์ก และพื้นที่รูห์ การขับไล่ออกไปอย่างรวดเร็วจะทำให้แนวรบกว้างขวาง เนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และส่วนใหญ่ของกองบัญชาการทหารอเมริกัน มันจะถูกนำไปใช้ในไม่ช้า

การปลดปล่อยฝรั่งเศส

ฝูงชนชาวฝรั่งเศสได้ออกมาต้อนรับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรแถวช็องเซลีเซ ภายหลังการปลดปล่อยกรุงปารีส, 26 สิงหาคม ค.ศ. 1944

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปิดฉากปฏิบัติการดรากูน–การรุกรานทางตอนใต้ฝรั่งเศสระหว่างตูลงและกาน กองทัพสหรัฐที่ 7 และกองทัพฝรั่งเศสที่ 1 ได้สร้างกองทัพกลุ่มที่ 6 แห่งสหรัฐ ได้รวมตัวอย่างรวดเร็วบนหัวหาดและปลดปล่อยฝรั่งเศสทางตอนใต้ในสองสัปดาห์ จากนั้นพวกเขาเคลื่อนทัพขึ้นเหนือหุบเขาโรน์ การรุกของพวกเขาได้ชะลอลงในขณะที่พวกเขาได้เผชิญหน้ากับกองกำลังเยอรมันที่จัดกลุ่มใหม่และตั้งมั่นในเทือกเขาโวฌ

เยอรมันในฝรั่งเศสกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามกลุ่มที่แข็งแกร่ง: ในทางตอนเหนือ กองทัพกลุ่มที่ 21 ของอังกฤษภายใต้บัญชาการโดยจอมพล เซอร์.เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ในภาคกลาง กองทัพกลุ่มที่ 12 ของอเมริกัน, ภายใต้บัญชาการโดยนายพลโอมาร์ แบรดลีย์ และทางตอนใต้ กองทัพกลุ่มที่ 6 ของสหรัฐ ภายใต้บัญชาการโดยพลโทเจคอบ แอล. ดีเวอร์ เมื่อกลางเดือนกันยายน กองทัพกลุ่มที่ 6 ได้รุกจากทางตอนใต้เข้ามาติดต่อกับการก่อตัวของแบรดลีย์ในการรุกจากตะวันตกและควบคุมทั้งหมดของกองกำลังของดีเวอร์ ผ่านจาก AFHQ (กองบัญชาการกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร)ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อให้กองทัพกลุ่มทั้งสามอยู่ภายใต้กองบัญชาการกลางของไอเซนฮาวร์ที่ SHAEF (กองบัญชาการทหารสูงสุด, Allied Expeditionary Forces).

ภายใต้การโจมตีในทั้งภาคเหนือและใต้ของฝรั่งเศส กองทัพเยอรมันต้องถอยร่น เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส (FFI) ได้รวมตัวกันเพื่อลุกฮือกำเริบไปทั่วและการปลดปล่อยกรุงปารีสได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม เมื่อนายพลดรีทริซ ฟอน โคลทิซได้ตัดสินใจยอมรับคำขาดของฝรั่งเศสและยอมจำนนต่อนายพล Philippe Leclerc de Hauteclocque ผู้บัญชาการกองพลยานเกราะที่ 2 แห่งเสรีฝรั่งเศส ซึ่งได้ขัดคำสั่งจากฮิตเลอร์ว่ากรุงปารีสนั้นจะต้องปกป้องเอาไว้ให้ได้และหากปกป้องไม่ได้ จะต้องทำลายเสียให้สิ้นซาก

การปลดปล่อยทางตอนเหนือของฝรั่งเศสและประเทศเบเนลักซ์ มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับพลเรือนชาวลอนดอนและทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เนื่องจากไม่ยอมรับที่เยอรมันเปิดฉากส่วนที่สำหรับฐานยิงจรวด วี-1 และ วี-2 Vergeltungswaffen (reprisal weapons)

ในฐานะฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ก้าวเข้าสู่ฝรั่งเศส เส้นทางขนส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์ได้ขยายไปถึงจุดแตกหัก Red Ball Express ความพยายามบรรทุกสินค้าขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่สามารถขนส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์ที่เพียงพอจากท่าเรือในนอร์ม็องดีได้ทั้งหมดตลอดทางจนถึงแนวหน้า,ซึ่งโดยเดือนกันยายน อยู่ใกล้ชายแดนเยอรมัน

หน่วยทหารเยอรมันหลักในทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในนอร์ม็องดีต่างถอนกำลัง ไปยังทางตะวันออกของอาลซัส (บางครั้งได้ก้าวข้ามผ่านกองทัพกลุ่มที่ 6 ที่กำลังรุก) หรือเข้าสู่ท่าเรือด้วยความตั้งใจที่จะปฏิเสธพวกฝ่ายสัมพันธมิตร กลุ่มสุดท้ายเหล่านี้ไม่คิดว่าจะคุ้มค่าและถูกปล่อยให้"เน่า", กับยกเว้นที่เบเนลักซ์ ซึ่งได้รับการปลดปล่อยในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 โดยกองทัพฝรั่งเศสภายใต้บัญชาการของนายพล Edgard de Larminat (Operation Venerable)

ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ารุกจากปารีสไปยังแม่น้ำไรน์

การสู้รบบนแนวรบด้านตะวันตกดูเหมือนจะเสถียรภาพ และฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ารุกจนหยุดชะงักบนแนวซีกฟรีด(กำแพงตะวันตก) และทางตอนใต้ของแม่น้ำไรน์ เริ่มต้นเมื่อเดือนกันยายน อเมริกันได้เริ่มสู้รบอย่างช้าๆและหลั่งเลือดผ่านบนป่าเฮิร์ทเจน(Hurtgen Forest) เพื่อทะลวงแนวป้องกัน

ท่าเรือที่แอนต์เวิร์ปได้รับการปลดปล่อยเมื่อวันที่ 14 กันยายนโดยกองพลยานเกราะที่ 11 แห่งอังกฤษ อย่างไรก็ตาม มันถูกกำหนดอยู่ที่ปลายของแม่น้ำยาวสเกลต์( Scheldt Estuary) และดังนั้นไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าจะมีแนวทางที่จะเคลียร์ตำแหน่งการเสริมกำลังของเยอร มัน การโอบล้อมที่ Breskens ทางตอนใต้ของฝั่งแม่น้ำสเกลต์ได้รับการจัดการด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างหนักโดยกองกำลังแคนาดาและโปแลนด์ในปฏิบัติการสวิตซ์แบ็ค(Operation Switchback) ในช่วงยุทธการที่แม่น้ำสเกลต์ ภายหลังจากการทัพที่น่าเบื่อหน่ายเพื่อเคลียร์คาบสมุทรที่มีอำนาจบนปากอ่าว และในที่สุด การโจมตีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่เกาะ Walcheren ในเดือนพฤศจิกายน การทัพเพื่อเคลียร์ปากแม่น้ำสเกลต์เป็นชัยชนะที่สำคัญสำหรับกองทัพแคนาดาที่ 1 และส่วนที่เหลือของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้มีการยินยอมให้มีการจัดส่งที่ดีมากขึ้นสำหรับวัสดูสนับสนุนโดยตรงจากแอนต์เวิร์ป ซึ่งอยู่ห่างใกล้จากหาดนอร์ม็องดี

ในเดือนตุลาคม อเมริกันได้ตัดสินใจว่าพวกเขาไม่สามารถลงทุนในอาเคินและปล่อยให้อยู่ในการโอบล้อมอย่างช้าๆ เพราะจะเข้าคุกคามปีกของกองทัพที่ 9 แห่งสหรัฐ เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่ที่สำคัญแห่งแรกของเยอรมันที่ต้องเผชิญกับการถูกยึดครอง ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ปกป้องเมืองโดยทุ่มเทกำลังทั้งหมด ในการรบที่เกิดขึ้น, เมืองถูกยึดครองโดยมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5,000 คนจากทั้งสองฝ่าย กับเชลยศึกเยอรมันประมาณ 5,600 คน

ทางตอนใต้ของป่าอาร์เดนส์ กองกำลังอเมริกันได้ต่อสู้ตั้งแต่เดือนกันยายนจนกระทั่งกลางเดือนธันวาคมเพื่อผลักดันเยอรมันออกจากลอแรนและไปยังหลังแนวซีกฟรีด การข้ามแม่น้ำมอแซลและเข้ายึดป้อมปราการที่แม็ส ปรากฏว่าเป็นเรื่องยากสำหรับทหารอเมริกันในการเผชิญหน้ากับการเสริมกำลังของเยอรมัน การขาดแคลนสเบียง และสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยสะดวก ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม กองทัพกลุ่มที่ 6 ของฝ่ายสัมพันธมิตร(กองทัพสหรัฐที่เจ็ดและกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่ง)ได้ต่อสู้ในการทัพที่ยากลำบากผ่านเส้นทางภูเขาโวฌซึ่งเต็มไปด้วยการต่อต้านของเยอรมันอย่างทรหดและการรุกที่ล่าช้า ในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม, แนวหน้าของเยอรมันได้แตกหักภายใต้แรงกดดัน เป็นผลทำให้การรุกอย่างรวดเร็วของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้เข้าปลดปล่อยเมืองแบลฟอร์ มูว์ลูซ และสทราซบูร์ และกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้วางกำลังตามแนวแม่น้ำไรน์ เยอรมันได้จัดการยึดหัวสะพานขนาดใหญ่(กอลมาร์พ็อกเกต) บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณรอบๆเมืองกอลมาร์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มการรุกฤดูใบไม้ร่วงครั้งใหญ่ที่เรีกยว่า ปฏิบัติการควีน พร้อมกับการรุกโจมตีหลักอีกครั้งผ่านทางป่าเฮือร์ทเกิน ฝูงกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้รุกไปยังแม่น้ำรูห์ร แต่ล้มเหลวในเป้าหมายหลักของการเข้ายึดเขื่อนแม่น้ำรูห์รและกรุยทางไปยังแม่น้ำไรน์ ปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ประสบความสำเร็จจากการรุกป่าอาร์เดนส์ของเยอรมัน

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

พลเมืองชาวดัตซ์ได้เฉลิมฉลองการปลดปล่อยไอนด์โฮเวน

ท่าเรือแอนต์เวิร์ปได้รับการปลดปล่อย เมื่อวันที่ 4 กันยายน โดยกองพลยานเกราะที่ 11 ของบริติช จอมพล เซอร์ เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ได้บัญชาการกองทัพกลุ่มที่ 21 ของอังกฤษ-แคนาดา ได้ชักชวนให้กองบัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดฉากการโจมตีอย่างกล้าหาญ ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ซึ่งเขาได้คาดหวังว่าจะทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรก้าวข้ามแม่น้ำไรน์และสร้างแนวรบที่แคบที่เขาชื่นชอบ ทหารโดดร่มจะขึ้นเครื่องบินมาจากสหราชอาณาจักรและลงจอดเข้ายึดสะพานข้ามแม่น้ำสายหลักของเนเธอร์แลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมันในสามเมืองหลักคือ ไอนด์โฮเวน ไนเมเคิน และอาร์เนม กองทัพสนามที่ 30 ของบริติซจะเจาะทะลวงแนวรบของเยอรมันตามแนวคลอง Maas–Schelde และเข้าสมทบกับกองกำลังทหารโดดร่มต่างๆ ได้แก่ กองพลทหารโดดร่มสหรัฐที่ 101 ในเมืองไอนด์โฮเวน กองพลทหารโดดร่มสหรัฐที่ 82 ในเมืองไนเมเคิน และกองพลทหารโดดร่มบริติซที่ 1 ในเมืองอาร์เนม หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี กองทัพสนามที่ 30 ก็จะรุกเข้าไปในเยอรมนีได้โดยปราศจากอุปสรรคสำคัญที่หลงเหลืออยู่ กองทัพสนามที่ 30 สามารถรุกได้เกินกว่าหกในเจ็ดสะพานที่กองกำลังทหารโดดร่มยึดครองอยู่ แต่ไม่สามารถสมทบกับกองทหารที่อยู่ใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ที่เมืองอาร์เนม ผลที่ตามมาคือการถูกทำลายล้างเกือบหมดสิ้นของกองพลทหารโดดร่มบริติซที่ 1 ในช่วงยุทธการที่อาร์เนม ซึ่งคาดการณ์ว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บและล้มตายเกือบ 8,000 นาย การรุกได้สิ้นสุดลงด้วยเมืองอาร์เนมที่เหลืออยู่ยังอยู่ในเงื้อมมือของเยอรมันและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ถือว่าเป็นการขยายส่วนที่ยื่นออกจากชายแดนเบลเยียมไปยังพื้นที่ระหว่างไนเมเคินและอาร์เนม

การรุกตอบโต้กลับฤดูหนาว

ดูบทความหลักที่: ยุทธการตอกลิ่ม
ทหารอเมริกันได้เข้าประจำที่ในตำแหน่งการป้องกันในป่าอาร์เดนส์ในช่วงยุทธการตอกลิ่ม

เยอรมันได้เตรียมการโจมตีตอบโต้กลับครั้งใหญ่ในด้านตะวันตกนับตั้งแต่ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกทะลวงจากนอร์ม็องดี แผนดังกล่าวเรียกว่า Wacht am Rhein (เฝ้าดูไรน์) เป็นการโจมตีผ่านทางป่าอาร์เดนส์และมุ่งหน้าไปทางเหนือสู่แอนต์เวิร์ป ทำการแบ่งแยกกองทัพอเมริกันและบริติซออกจากกัน การโจมตีได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการตอกลิ่ม การป้องกันเส้นทางผ่านป่าอาร์เดนส์เป็นหน้าที่ของกองกำลังทหารแห่งกองทัพสหรัฐที่หนึ่ง ความสำเร็จครั้งแรกในสภาพอากาศที่เลวร้าย ซึ่งทำให้พวกเขาถูกบดบังจากกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นผลทำให้เยอรมันเข้ารุกได้ไกลถึง 80 กิโลเมตร(50 ไมล์) ไปยังภายในอย่างน้อยถึง 16 กิโลเมตร(10 ไมล์)ของแม่น้ำเมิซ เมื่อได้รับรู้ด้วยความประหลาดใจ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งกองทัพใหม่และเยอรมันได้หยุดชะงักโดยถูกโจมตีตอบโต้กลับแบบผสมคือทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ ซึ่งในที่สุดแล้วพวกเขาถูกผลักดันกลับไปยังจุดเริ่มต้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1945

เยอรมันได้เปิดฉากขั้นที่สอง การรุกขนาดเล็ก(นอร์ดวินด์) เข้าไปยังแคว้นอาลซัส เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1945 ด้วยเป้าหมายที่จะยึดสทราซบูร์กลับคืนมาอีกครั้ง เยอรมันได้โจมตีกองทัพกลุ่มที่ 6 ในหลายๆจุด เพราะแนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยืดออกไปอย่างหนักหน่วงในการตอบสนองต่อวิกฤตในป่าอาร์เดนส์ การถือครองและการรุกของนอร์วินด์นั้นล่าช้ากลับกลายเป็นเรื่องที่มีราคาแพงซึ่งกินเป็นเวลาเกือบสี่สัปดาห์ จุดสูงสุดของการโจมตีตอบโต้กลับของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ฟื้นฟูแนวหน้าไปยังพื้นที่ของชายแดนเยอรมันและพังทะลายกอลมาร์พ็อกเกต

การบุกครองเยอรมนี

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 หัวสะพานข้ามแม่น้ำรูร์ของเยอรมันระหว่างไฮน์แบร์ก(Heinsberg)และเรอร์มอนด์(Roermond)ได้ถูกจัดการในปฏิบัติการแบล็คคอก ครั้งนี้ตามมาด้วยการเคลื่อนไหวแบบก้ามปูของกองทัพแคนาดาที่หนึ่งในปฏิบัติการเวริเทเบิล เข้ารุกจากไนเมเคิน พื้นที่ของเนเธอร์แลนด์ และกองทัพสหรัฐที่ 9 ได้ข้ามแม่น้ำรูร์ในปฏิบัติการเกรเนด เวริเทเบิลและเกรเนดเป็นแผนที่เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 แต่เกรเนดได้ล่าช้าไปสองสัปดาห์ เมื่อเยอรมันได้ทำให้เกิดน้ำท่วมหุบเขารูร์โดยการทำลายประตูเขื่อนแม่น้ำรูร์ที่ตั้งอยู่ทางต้นน้ำ จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ได้ขออนุมัติในการถอนกำลังไปยังด้านตะวันออกหลังแม่น้ำไรน์ โดยยืนยันว่าการต่อต้านที่เพิ่มมากขึ้นจะช่วยถ่วงเวลาได้อย่างแน่นอน แต่ได้รับคำสั่งจากฮิตเลอร์ว่าให้ต่อสู้รบต่อไปอย่างที่กองทัพของเขาจะยืนหยัดได้

เมื่อถึงเวลาน้ำลดลงและกองทัพสหรัฐที่เก้าก็สามารถข้ามแม่น้ำรูร์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นๆยังได้ประชิดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ กองพลของฟ็อน รุนท์ชเต็ทซึ่งยังหลงเหลืออยู่บนฝังตะวันตกถูกโอบล้อมใน"ยุทธการที่ไรน์ลันท์"-จำนวน 280,000 นายถูกจับเป็นเชลย กับผู้ชายจำนวนมากที่ถูกจับกุม การต่อต้านของเยอรมันที่ดือรั้นในช่วงการทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อไปถึงแม่น้ำไรน์ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 จึงทำให้มีราคาแพง ความสูญเสียทั้งหมดได้บรรลุถึงประมาณ 400,000 นาย[13] เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาเตรียมข้ามแม่น้ำไรน์ในปลายเดือนมีนาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้จับกุมเชลยศึกชาวเยอรมันจำนวน 1,300,000 นาย ในยุโรปตะวันตก[14]

ทหารสหรัฐข้ามแม่น้ำไรน์ในเรือจู่โจม
  • การข้ามแม่น้ำไรน์ได้บรรลุถึงสี่จุด: หนึ่งจุดคือโอกาสที่ได้รับในการเข้ายึดโดยกองทัพสหรัฐ เมื่อเยอรมันได้ล้มเหลวในการระเบิดสะพานลูเดนดอฟฟ์ที่เรมาเกิน อีกจุดในการข้ามเป็นการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และการข้ามอีกสองจุดได้ถูกวางแผนเอาไว้ แบรดลีย์และผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาได้ใช้ประโยชน์ในการข้ามเรมาเกินอย่างรวดเร็วที่ทำขึ้น เมื่อวันที่ 7 มีนาคม และขยายหัวสะพานในการข้ามแม่น้ำอย่างเต็มรูปแบบ
  • แบรดลีย์ได้บอกให้นายพลแพ็ตตันซึ่งบัญชาการในกองทัพสหรัฐที่สามที่ได้ต่อสู้รบผ่านทางพาลาทิเนต เพื่อ"เอาแม่น้ำไรน์บนทางวิ่ง"(take the Rhine on the run)[15] กองทัพที่สามก็ได้ทำเช่นนั้นในคืนวันที่ 22 มีนาคม การข้ามแม่น้ำด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็วทางตอนใต้ของไมนทซ์ที่โอเพนไฮร์ม(Oppenheim)
  • ในทางตอนเหนือ ปฏิบัติการพลันเดอร์เป็นนามที่ถูกมอบให้ของการจู่โจมข้ามแม่น้ำไรน์ที่รีส(rees)และเวเซิล(weswl)โดยกองทัพกลุ่มที่ 21 ของบริติซ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม มันได้รวมถึงปฏิบัติการการโดดร่มครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีรหัสนามว่า ปฏิบัติการวาร์ซิตี้ เมื่อถึงจุดที่บริติซข้ามแม่น้ำ มันกว้างขวางเป็นสองเท่ากับปริมาณน้ำที่สูงขึ้น ห่างไกลจากจุดที่อเมริกันข้ามแม่น้ำและมอนต์โกเมอรีได้ตัดสินใจว่าน่าจะสามารถข้ามไปได้ด้วยปฏิบัติการตามแผนอย่างระมัดระวัง[ต้องการอ้างอิง]
  • ในพื้นที่ของกองทัพกลุ่มที่ 6 ของฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพสหรัฐที่ 7 ได้เข้าจู่โจมข้ามแม่น้ำไรน์ในพื้นที่ระหว่างมันไฮม์และวอร์มส(Worms) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม[16] การข้ามแม่น้ำทั้งห้าจุดในขนาดที่เล็กกว่ามากซึ่งได้ประสบความสำเร็จในภายหลังโดยกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่งที่ชไปเออร์[17]
ทหารสหรัฐกำลังบุกผ่านซากปรักหักพังที่ฟ้ามืดครึ้มของ Waldenburg เยอรมนี เดือนเมษายน ค.ศ. 1945

เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรข้ามแม่น้ำไรน์ได้แล้ว บริติซก็ได้มุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เมืองฮัมบวร์ค ข้ามแม่น้ำเอลเบและมุ่งหน้าไปยังเดนมาร์กและทะเลบอลติก กองทัพบริติซได้เข้ายึดครองเมืองเบรเมิน เมื่อวันที่ 26 เมษายน ภายหลังสัปดาห์ของการสู้รบ[18] ทหารโดดร่มบริติซและแคนาดาได้เดินทางมาถึงเมืองบนฝั่งทะเลบอลติกคือ วิสมาร์(Wismar) ซึ่งมาถึงก่อนกองทัพโซเวียต เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม กองทัพสหรัฐที่ 9 ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้คำสั่งของกองบัญชาการบริติชนับตั้งแต่ยุทธการตอกลิ่ม ได้มุ่งหน้าไปทางใต้เช่นเดียวกับทางเหนือเข้าบรรจบกันเป็นคีบปากหนีบของการโอบล้อมที่รัวร์ เช่นเดียวกับผลักดันส่วนที่เหลือไปทางด้านตะวันออก กองทัพสนามที่สิบเก้าของกองทัพที่เก้าได้เข้ายึดครองเมืองมัคเดอบวร์ค เมื่อวันที่ 18 เมษายน กองทัพสนามสหรัฐที่สิบสามได้มุ่งหน้าไปทางเหนือเข้ายึดครองสเทินเดล(Stendal)[19]

กองทัพกลุ่มที่ 12 ของสหรัฐได้แผ่ขยายออกไป กองทัพที่หนึ่งได้มุ่งหน้าไปทางเหนือเช่นเดียวกับทางใต้เข้าบรรจบกันเป็นคีบปากหนีบของการโอบล้อมที่รัวร์ เมื่อวันที่ 4 เมษายน การโอบล้อมได้เสร็จสมบูรณ์ และกองทัพที่เก้าได้หวนกลับมาอยู่ภายใต้คำสั่งกองบัญชาการของกองทัพกลุ่มที่ 12 ของแบรดลีย์ กองทัพเยอรมันกลุ่มบีภายใต้บัญชาการของจอมพล วัลเทอร์ โมเดิล ถูกติดกับในรัวร์พ็อกเกตและทหาร 300,000 นายได้ตกเป็นเชลยศึกสงคราม กองทัพอเมริกันที่เก้าและหนึ่งได้หันมุ่งหน้าไปยังทางด้านตะวันออกและผลักดันไปยังแม่น้ำเอลเบในกลางเดือนเมษายน ในช่วงระหว่างการผลักดันทางด้านตะวันออก เมืองต่างๆ ได้แก่ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์, คัสเซิล, มัคเดอบวร์ค, ฮัลเลอ และไลพ์ซิชล้วนได้รับการป้องกันอย่างแน่นหนาโดยกองทหารรักษาการณ์เฉพาะกิจของเยอรมันที่ประกอบไปด้วยทหารประจำการ หน่วยทหารต่อต้านอากาศยาน ฟ็อลคส์ชตวร์ม และกองกำลังติดอาวุธสนับสนุนพรรคนาซี นายพลไอเซนฮาวร์และแบรดลีย์ได้หารือข้อสรุปว่าการผลักดันเกินกว่าที่แม่น้ำเอลเบนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย เนื่องจากเยอรมนีตะวันออกได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้วในทุกกรณีที่ถูกยึดครองโดยกองทัพแดง กองทัพที่หนึ่งและเก้าได้หยุดทัพตามแนวแม่น้ำเอลเบและมัลเด(Mulde) ทำการติดต่อกับกองทัพโซเวียตที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำเอลเบในปลายเดือนเมษายน กองทัพสหรัฐที่สามได้แผ่ขยายออกไปทางด้านตะวันออกโดยไปทางภาคตะวันตกเข้าสู่เชโกสโลวาเกีย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่บาวาเรีย และทางภาคเหนือเข้าสู่ออสเตรีย ในวัยชัยแห่งยุโรป กองทัพกลุ่มที่ 12 ของสหรัฐเป็นกองกำลังจากทั้งสี่กองทัพ(หนึ่ง, สาม, เก้า และสิบห้า) ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1.3 ล้านนาย[20]

จุดจบของจักรวรรดิไรช์ที่สาม

ประชาชนต่างได้รวมตัวกันในเมือง ไวต์ฮอล เพื่อฟังคำกล่าวสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะของวิสตัน เชอร์ชิลและเฉลิมฉลองชัยชนะในยุโรป, 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

กองทัพกลุ่มที่ 6 ได้แผ่ขยายออกไปยังภาคตะวันตกเฉียงใต้ เคลื่อนทัพผ่านทางตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์ไปจนถึงบาวาเรียและเข้าสู่ออสเตรียและทางตอนเหนือของอิตาลี Black Forest และ Baden ถูกบุกรุกโดยกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่ง ได้มีการตั้งรับอย่างแน่วแน่ในเดือนเมษายนโดยกองทัพเยอรมันที่อยู่ในเมืองไฮล์บร็อน เนือร์นแบร์ค และมิวนิก, แต่กลับถูกพิชิตลงได้หลังผ่านไปหลายวัน ส่วนหนึ่งของกองพลทหารราบสหรัฐที่ 3 เป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตรกลุ่มแรกที่เดินทางไปถึงแบร์ชเทิสกาเดินซึ่งพวกเขายึดครองมาได้ ในขณะที่กองพลยานเกราะฝรั่งเศสที่ 2 ได้เข้ายึดแบร์คโฮฟ(บ้านพักตากอากาศบนเทือกเขาแอลป์ของฮิตเลอร์) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 กองทัพเยอรมันกลุ่มจีได้ยอมจำนนต่อกองทัพสหรัฐที่ฮารร์ ในบาวาเรีย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม จอมพลมอนต์โกเมอรีได้รับการยอมจำนนของทหารเยอรมันของกองทัพเยอรมันทั้งหมดในเนเธอร์แลนด์ ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือและเดนมาร์กบน Lüneburg Heath พื้นที่ระหว่างเมืองฮัมบวร์ค ฮันโนเฟอร์ และเบรเมิน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เช่นเดียวกับผู้บัญชาการปฏิบัติการของกองทัพบางส่วนนี้คือ พลเรือเอก คาร์ล เดอนิทซ์ Reichspräsident(ประมุขแห่งรัฐ)คนใหม่ของไรช์ที่สามได้ยินยอมที่จะเซ็นลงนามสัญญาสงบศึกเป็นอันสงครามในยุโรปสิ้นสุดลง

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ที่สำนักงานใหญ่ของเขาในแร็งส์ ไอเซนฮาวร์ได้รับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของกองทัพเยอรมันทั้งหมดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียต[21] จากหัวหน้าเสนาธิการเยอรมัน นายพล อัลเฟรท โยเดิล เป็นผู้ลงนามคนแรกในตราสารยอมจำนนที่เวลา 0241 ชั่วโมง นายพล Franz Böhme ได้ประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของกองกำลังทหารเยอรมันในนอร์เวย์ การดำเนินการได้หยุดลงที่เวลา 2301 ชั่วโมงตามเวลายุโรปกลาง(CET) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ในวันเดียวกัน จอมพล วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล ในฐานะที่เป็นหัวหน้าของกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์(OKW)และหัวหน้าของโยเดิล ได้ถูกนำตัวไปหาจอมพล เกออร์กี จูคอฟ ในคาร์ลชอร์สท์และเซ็นลงนามในตราสารยอมจำนนอีกครั้งซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการลงนามในแร็งส์ โดยมีการเพิ่มเติมที่เล็กน้อยสองครั้งที่ถูกเรียกร้องโดยโซเวียต[22]

ใกล้เคียง

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง แนวรบยูเครนที่ 1 แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 แนวรบทะเลทราย แนวรบด้านเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง แนวรบด้านตะวันออกของสงครามกลางเมืองอเมริกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: แนวรบด้านตะวันตก_(สงครามโลกครั้งที่สอง) http://www.canadiansoldiers.com/mediawiki-1.5.5/in... http://www.canadiansoldiers.com/mediawiki-1.5.5/in... http://www.wwii-photos-maps.com/twelfthalliedarmyg... http://www.strom.clemson.edu/publications/sg-war41... http://www.history.army.mil/brochures/centeur/cent... http://www.ibiblio.org/hyperwar/USA/COS-Biennial/C... http://www.regiments.org/about/index.htm http://www.regiments.org/wars/20ww2/eur-nw42.htm http://www.ushmm.org/wlc/en/article.php?ModuleId=1... https://books.google.com/books?id=iFEEAAAAMBAJ&pg=...